ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จะต้องขอขึ้นทะเบียน และขออนุญาตผลิตหรือนำเข้า วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ส่วนผู้ส่งออกจะต้องขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วกับสำนักคณะกรรมการอาหารและยา
สำหรับผู้ขอมีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่มีสถานที่เก็บอยู่ในกรุงเทพมหานครให้ยื่นขออนุญาตที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หากสถานที่เก็บอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นขออนุญาต ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ
การขออนุญาตวัตถุอันตราย ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
• กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่เคยได้รับอนุญาต
• กรณีสถานที่เก็บรักษาวัตถุอันตรายที่ยังไม่เคยได้รับอนุญาต
ค่าธรรมเนียม คิดตามปริมาณ การผลิต นำเข้า ส่งออก / ต่อปี
คิดตามปริมาณและพื้นที่เก็บรักษา (เฉพาะการครอบครอง)
(กฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับวัตถุอันตราย พ.ศ.2552)
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุ เท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแต่ละประเภท
อายุใบอนุญาต ใช้ได้ถึง 31 ธันวาคม ของปีที่ 3 นับแต่ปีที่ออกใบอนุญาต
1.คำขออนุญาตผลิตวัตถุอันตราย (แบบ วอ.1)
2. คำขออนุญาตนำเข้าวัตถุอันตราย (แบบ วอ.3)
3. คำขออนุญาตส่งออกวัตถุอันตราย(แบบ วอ.5)
4. คำขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตราย (แบบ วอ.7)
5. คำขอต่ออายุใบอนุญาต(แบบ วอ.9)
ขั้นตอนการขอใบอนุญาตวัตถุอันตราย
คู่มือการขออนุญาตวัตถุอันตรายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ